top of page
27.webp
32.jpg

เงินได้พึงประเมินคืออะไร

Screenshot_1_edited.jpg

เงินได้พึงประเมิน คือ เงินได้ที่กฎหมายบังคับให้เราต้องเสียภาษี ได้แก่ เงินสด ทรัพย์สินที่ตีราคาได้ สิทธิประโยชน์ที่ตีราคาได้ เงินค่าภาษีที่มีคนจ่ายให้เรา และเครดิตภาษีเงินปันผล ยกเว้นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี                      (เงินรางวัลจากการถูกลอตเตอรี่ ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 24 เดือน   ฯลฯ)

เงินได้พึงประเมิน 8 ประเภท

เงินได้พึงประเมินมาตรา 40 แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ได้แก่

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ฯลฯ

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 ได้แก่เงินได้เนื่องหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า ค่าส่วนลด ค่าธรรมเนียม ฯลฯ

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3  ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปีหรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

เงินได้พึงประเมินประเภทที่  4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ

เงินได้พึงประเมินประเภทที่  5  ได้แก่ เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน

เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก    

          - การให้เช่าทรัพย์สิน

          - การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน

     - การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว  

เงินได้พึงประเมินประเภทที่  6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรมหรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

ประเภทเงินได้ที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

1. เงินได้ที่บุคคลซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นผู้รับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (นำส่งตามแบบ ภ.ง.ด.3) ที่กำหนดไว้ มีดังต่อไปนี้

              1.) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน

        2.) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี และประณีตศิลปกรรม

       3.) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

            4.) เงินได้จากการธุรกิจการพาณิชย์ การเกษตร

การอุตสาหกรรม การขนส่งฯ เฉพาะประเภทที่กำหนดไว้ ดังนี้

        (1) เงินรางวัลในการประกวดแข่งขัน การชิงโชค หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน

         (2) เงินได้จากการเป็นนักแสดงสาธารณะ

         (3) เงินได้จากการรับโฆษณา

         (4) เงินได้จากการรับจ้างทำของ

         (5) เงินได้จากการให้บริการอื่น ๆ

         (6) เงินรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย

         (7) เงินได้จากค่าขนส่ง

2. เงินได้ที่บุคคลซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นผู้รับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (นำส่งตามแบบ ภ.ง.ด.53) ที่กำหนดไว้ มีดังต่อไปนี้

       1.) เงินได้จากการขายสินค้าพืชผลการเกษตร (บางประเภท) ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงิน เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไรหรือประโยชน์อื่นใด เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากค่าจ้างทำของ เงินได้จากการประกวด แข่งขัน ชิงโชค หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เงินได้จากค่าโฆษณา

           2.) เงินได้ตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวตามข้อ 1

         3.) เงินได้จากค่าเบี้ยประกันวินาศภัยเฉพาะที่จ่ายให้แก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยในประเทศไทย

               4.) เงินได้ค่าขนส่งแต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ

46_edited_edited.png
8.jpg

เงินได้พึงประเมินประเภทไหน
ต้องยื่น ภ.ง.ด. อะไรบ้าง

  • ยื่น ภ.ง.ด. 91 สำหรับผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 หรือ 40 (1) เป็นรายได้ทางเดียว

  • ยื่น ภ.ง.ด. 90 สำหรับผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 หรือ 40 (2) หากทำงานประจำ แล้วทำงานอย่างอื่นร่วมด้วย [ 40 (1) + 40 (2)- (8) ] ก็ให้ยื่น ภ.ง.ด. 90 นี้เหมือนกัน

  • ยื่น ภ.ง.ด. 94 สำหรับผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5-8 หรือ 40 (5) - (8) มีข้อบังคับคือต้องยื่นกลางปี เช่น ปีภาษี 2563 จะต้องยื่นรายได้ของ 6 เดือนแรก (ม.ค. – มิ.ย.) ภายในกรกฎาคม – 30 กันยายน 2563 แล้วค่อยยื่นปลายปีอีกครั้งหนึ่ง

bottom of page