top of page
31.jpg

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ความหมายภาษีหัก ณ ที่จ่าย

     ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นวิธีการเสียภาษีอย่างหนึ่งของผู้มีเงินได้ โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คำนวณหักเงิน ซึ่งตนมีหน้าที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้วนำเงินที่หักไว้นำส่งรัฐบาลเงินที่ได้หักและนำส่งดังกล่าวถือเป็นเครดิตภาษีในการเสียภาษีเงินได้ของผู้รับเงินเมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี ถ้ากรณีใดไม่มีกฎหมายกำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่ายผู้จ่ายเงินได้ก็ไม่ต้องหักภาษีแต่อย่างใด

ต้องหักเมื่อไหร่

    เราต้องจ่ายหักภาษีนี้เมื่อจ่ายเงินเกิน 1,000 บาทในครั้งเดียว หรือหลายครั้งรวมกัน เช่น ถ้าเราแบ่งจ่ายค่าจ้างฟรีแลนซ์ 1,000 บาท 2 ครั้ง ครั้งละ 500 บาท เราก็ต้องหักภาษีทั้งสองครั้งด้วย เพราะรวมกันแล้ว 1,000 บาท​

ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ต้องปฏิบัติอย่างไร?

       1. มีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เว้นแต่บุคคลธรรมดาที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้ใช้เลขประจำตัวประชาชนแทน)

      2. หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกคราวที่จ่ายเงินได้ ซึ่งมีกฎหมายกำหนด  ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย

      3. ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้ถูกหักภาษี          ในกรณีที่เป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ให้เจ้าพนักงานผู้จ่ายเงินได้ออกใบรับสำหรับค่าภาษีที่ได้หักไว้ให้แก่ผู้รับเงิน

      4. นำส่งภาษีที่ได้หักไว้ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอยู่

Screenshot_1_edited.jpg

วัตถุประสงค์ของการหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีดังนี้

        1. เพื่อบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้มีเงินได้ที่จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในคราวเดียวกันเป็นจํานวนมาก

        2. เพื่อให้รัฐบาลมีรายได้เข้าคลังที่เก็บจากภาษีหัก ณ ที่จ่ายอย่างสม่ำเสมอ

            3. เพื่อลดแรงกดดันในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามเลี่ยง          การเสียภาษีอากร

        4. เพื่อเป็นเครื่องมือทางภาษี ลดภาระหน้าที่ในการตรวจสอบภาษีหรือติดตามการจัดเก็บภาษีในภายหลัง

ใครบ้างที่ต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้สรรพากร

         1. ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.3 หมายถึง ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

          2. ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 หมายถึง ผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

Screenshot_1_edited.jpg

บทกำหนดโทษกรณีปฏิบัติไม่ถูกต้องครบถ้วน

      1. ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มิได้หักและ นำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้องผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนเงินที่ขาดไปแล้วแต่กรณี  ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้แล้วให้ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีพ้นความรับผิดที่จะชำระเงินภาษีเท่าจำนวนที่      ผู้จ่ายเงินได้หักไว้และให้ผู้จ่ายเงินรับผิดชำระภาษีจำนวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว        (มาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร)

          2. ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไม่นำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่หักไปนำส่งภายในกำหนดเวลาจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีก ร้อยละ  1 . 5  ต่อเดือน หรือ              เศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ

         3. ผู้ใดเจตนาละเลยไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่นเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือ           จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ (มาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)

Screenshot_1_edited.jpg
Screenshot_1_edited.jpg

การยื่นภาษีครั้งแรกของผู้ประกอบการนิติบุคคล

ดยปกติกิจการนิติบุคคล เช่น กรณีบริษัทจำกัด ต้องทำการยื่นแบบภาษีนิติบุคคลปีละ 2 ครั้งตามกฎหมาย ดังนี้

ครั้งที่ 1 บริษัทต้องยื่นแบบภาษีนิติบุคคลครึ่งปี โดยคำนวณเสียภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ และต้องยื่นแบบภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

ครั้งที่ 2 การยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี เป็นภาษีที่จัดเก็บจากรายได้ในการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบการของบริษัทในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี มีกำหนด 12 เดือนต่อรอบระยะเวลาบัญชี และต้องยื่นแบบภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี 

ในการยื่นแบบครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 บริษัทสามารถยื่นแบบด้วยตนเองด้วยกระดาษหรือยื่นแบบออนไลน์ การยื่นแบบด้วยกระดาษ ผู้ประกอบการสามารถยื่นแบบและชำระภาษีได้ที่สรรพากรพื้นที่ การยื่นแบบออนไลน์ จะยื่นได้ผ่านคอมพิวเตอร์ โดยเข้าสู่หน้าจอ E-Filing ของกรมสรรพากร กิจการที่ยื่นแบบออนไลน์จะได้รับสิทธิพิเศษให้ขยายเวลายื่นแบบและชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน และผู้เสียภาษีสามารถชำระภาษีโดยใช้ Pay-in-Slip ชำระทาง Mobile-Banking ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ, Counter Service, สรรพากรพื้นที่ การชำระผ่านระบบE-Payment เป็นต้น

bottom of page